การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล เช่น ตรวจสอบและยืนยันข้อมูล โดยเทียบเคียงจากข้อมูลหายแหล่ง แยกแยะข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น หรือใช้ PROMPT
เหตุผลวิบัติ (logical fallacy)
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย เช่น การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การซื้อสินค้า ซื้อซอฟต์แวร์ ค่าบริการสมาชิก ซื้อไอเท็ม เป็นต้น
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความรับผิดชอบ เช่น ไม่สร้างข่าวลวง ไม่แชร์ข้อมูลโดยไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริง
1. กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการใช้คอมพิวเตอร์
2. การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบธรรม (fair use)
ถ้าข้อมูลที่นำมาใช้ในการเรียนรู้และการทำงาน มีความถูกต้อง เหมาะสม และน่าเชื่อถือ จะทำให้เกิดการเรียนรู้และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนการนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาใช้ต้องผ่านกระบวนการประเมิน ความน่าเชื่อถือด้วยการตรวจสอบและยืนยันข้อมูล โดยอาจใช้หลักการ PROMPT ซึ่งได้แก่ การนำเสนอ ความสัมพันธ์ วัตถุประสงค์ วิธีการ แหล่งที่มา และเวลา (Presentation, Relevance, Objectivity, Method,
Provenance, Timeliness: PROMPT)
เหตุผลวิบัติ (logical fallacy) เป็นการโต้แย้งโดยใช้เหตุผลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สอดคล้องกับประเด็นที่กำลังโต้แย้ง เพื่อนำมาสนับสนุนความคิดเห็นของตนเอง เหตุผลวิบัติสามารถจำแนกได้เป็น 2 แบบคือ แบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ซึ่งเหตุผลที่นำมาใช้ไม่ได้นำไปสู่ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือได้ข้อสรุปที่ขัดแย้งกับความเป็นจริง เหตุผลวิบัติอาจเกิดขึ้นในหลายลักษณะ เช่น การให้เหตุผลโดยละเว้นข้อเท็จจริง การกล่าวถึงสิ่งที่อยู่นอกประเด็น การมองไม่รอบด้าน
การรู้เท่าทันในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้รู้ว่าควรปฏิบัติอย่างไรในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน รวมทั้งการปฏิบัติเมื่อพบกับข่าวลวงหรือเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น ในขณะที่การใช้งานอย่างมีความรับผิดชอบจะช่วยให้ปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศลดน้อยลง
ข้อกำหนด ระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่สม่ำเสมอ
เจ้าของผลงานที่มีลิขสิทธิ์สามารถดัดแปลง แก้ไข ทำซ้ำ เผยแพร่ และอนุญาตให้ผู้อื่นใช้ผลงานของตนเองได้ การใช้ผลงานลิขสิทธิ์ของผู้อื่นจะต้องขออนุญาตก่อนเสมอ อย่างไรก็ตามกฎหมายก็มีข้อยกเว้นในบางกรณีที่สามารถใช้ผลงานที่มีลิขสิทธิ์ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต